ค่าระวางสินค้าสำหรับการขนส่งทางอากาศ

ผู้ส่งออกหลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่าค่า ระวางสินค้า ซึ่งหมายถึงค่าขนส่งสินค้านั่นเอง โดยที่ค่าระวางในการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น จะเหมือนกับค่าระวางในการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น จะเหมือนกับค่าระวางในการขนส่งด้านอื่นๆ คือ จะคิดตามน้ำหนักของสินค้าเป็นหลักซึ่งค่าระวางสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ที่สำคัญมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ค่าระวางสำหรับสินค้าทั่วไป (General Cargo Rates) ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 อัตรา คือ
    • อัตราปกติ (Normal Charge) เป็นอัตราที่ใช้สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่ถึง 45 กิโลกรัม
    • อัตราตามจำนวนน้ำหนัก (Quantity Charge) เป็นอัตราที่ใช้สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัม
    • อัตราขึ้นต่ำ (Minimum Charge) เป็นค่าระวางที่กำหนดไว้เป็นขั้นต่ำ หากผู้ส่งออกคำนวณค่าระวางตามอัตราปกติหรืออัตราตามจำนวนน้ำหนักแล้วได้ มูลค่าต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำ จะต้องใช้อัตราขั้นต่ำ
  1. ค่าระวางสำหรับสินค้าพิเศษ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 อัตราคือ
    • อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าพิเศษ บางประเภท (Class Rates) เป็นอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น สัตว์มีชีวิต ของมีค่า สิ่งพิมพ์ สินค้าอันตราย เป็นต้น โดยอัตราประเภทนี้อาจมากหรือน้อยกว่าค่าระวางสำหรับสินค้าทั่วไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการขนส่งสินค้าพิเศษแต่ละประเภท
    • อัตราค่าระวางสำหรับสินค้าที่มี การกำหนดค่าระวางเป็นพิเศษ (Specific Commodity Rates) เป็นอัตราค่าระวางสำหรับสินค้าที่มีการส่งออกเป็นประจำและครั้งละมากๆ เช่น สินค้าจำพวกอาหาร ผลไม้ เป็นต้น โดยจะมีข้อกำหนดว่าแต่ละประเภทสินค้าจะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าที่กำหนด

สำหรับการคำนวณค่าระวางสินค้า มี 2 รูปแบบ คือ

  • คิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Gross Weight) โดยจะมีหน่วยเป็นกิโลกรัม
  • คิดจากน้ำหนักปริมาตร (Volume Weight)

คือ คิดจากขนาดของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า
คือ กว้าง x ยาว x สูง

ทั้งนี้จะใช้รูปแบบไหนจะต้องนำผลจากการ คำนวณน้ำหนักทั้งสองรูปแบบมาเปรียบเทียบกันแล้วเลือกใช้น้ำหนักที่มากสุดมา เป็นตัวคูณกับอัตราค่าระวางสินค้า ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นก็จะได้ค่าระวางสินค้า เพื่อให้ผู้ส่งออกเข้าใจมากยิ่งขึ้นขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้

ตัวอย่าง ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งคือผลไม้ซึ่งจะบรรจุอยู่ในลังทั้งหมด 10 ลัง ขนาดของลัง คือ กว้าง 150 ซม. ยาว 120 ซม. และสูง 100 ซม. โดยมีน้ำหนักรวามชั่งได้ 950 กิโลกรัม และต้องการส่งออกสินค้าไปได้หวัน โดยสมมติให้อัตราค่าระวางสำหรับผลไม้ (Specific Commodity Rate) อยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท จะต้องเสียค่าระวางสินค้าทั้งหมดเท่าใด
กรณีคิดตามปริมาตร จะได้น้ำหนัก
= จำนวนลังสินค้า x ขนาดปริมาตรของลัง 1 ลัง
= จำนวนลังสินค้า x ขนาด (กว้าง x ยาว x สูง)
= 10 x (50 x 120 x 100)
= 6,000,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
*** จากนั้นแปลงหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตรให้เป็นหน่วยกิโลกรัม โดยหารจำนวนที่คิดออกมาเป็นหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตรด้วยค่ามาตรฐานของการขน ส่งสินค้าทางอากาศ คือ 6,000 (กำหนดโดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ) ขณะที่หากหน่วยกำหนดมาเป็นนิ้วให้หารด้วยค่ามาตรฐาน คือ 366
ดังนั้นได้น้ำหนักปริมาตร

  • 1,000 กิโลกรัม (6,000,000 / 6,000)
  • กรณีคิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้
  • 950 กิโลกรัม

จากนั้นผู้ส่งออกต้องนำน้ำหนักที่มากที่ สุดมาเป็นตัวคูณกับอัตราค่าระวาง จากตัวอย่างนี้คือ เลือกน้ำหนักปริมาตรเพราะได้ค่ามากกว่า ดังนั้น ค่าระวางสินค้าในที่นี้จะได้เท่ากับ 1,000 กก. x 50 บาท = 50,000 บาท
ทั้ง นี้การชำระค่าระวางสินค้านั้น ผู้ส่งออกสามารถชำระได้ 2 วิธี คือ ชำระ ณ ต้นทาง โดยผู้ส่งออกเป็นผู้ชำระ หรือชำระ ณ ปลายทาง โดยให้ผู้รับสินค้าเป็นผู้ชำระ ซึ่งหากผู้ส่งออกต้องชำระเอง ก็จะนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมเข้าไปเป็นต้นทุนของค่าสินค้าต่อไป อย่างไรก็ตามการจะพิจารณาว่าจะชำระด้วยวิธีใด จะต้องดูจากระเบียบข้อบังคับของทางฝั่งผู้ซื้อหรือจากทางสายการบินว่าจะต้อง ชำระโดยวิธีใด รวมทั้งเงื่อนไขหรือข้อกำหนด การส่งมอบสินค้า (Incoterms) ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่ผู้ส่งออกและผู้ซื้อตกลงร่วมกันถึงความรับผิดชอบในการ ส่งมอบสินค้า ซึ่งส่งผลต่อการคิดราคาสินค้าด้วย โดย Incoterms สำคัญที่ผู้ส่งออกสินค้าทางอากาศควรทราบคือ

FCA (Free Carrier) เงื่อนไขนี้ผู้ส่งออกจะสิ้นสุดความรับผิดชอบ เมื่อได้ส่งมอบสินค้าถึงบริษัทตัวแทนขนส่ง โดยผู้ส่งออกต้องรับผิดชอบดำเนินพิธีการศุลกากร

CPT (Carriage Paid To) เงื่อนไขนี้ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบเรื่องการทำพิธีการศุลกากรรวมทั้งค่า ระวางสินค้าและการขนส่งจนถึงบนเครื่องบิน ดังนั้นค่าระวางสินค้าจะถูกคิดรวมไปในราคาสินค้าของผู้ส่งออกด้วย
CIP (Carriage and Insurance Paid To) เงื่อนไขนี้นอกจากจะต้องรับผิดชอบในส่วนของพิธีการศุลกากร ค่าระวางสินค้า และค่าขนส่งแล้ว ยังต้องดูแลในส่วนของค่าประกันสินค้าด้วยซึ่งผู้ส่งออกก็จะรวมค่าประกันภัย เข้ากับราคาสินค้า

DDU (Delivered Duty Unpaid) เงื่อนไขนี้ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อทั้งค่าระวาง ค่าประกัน ค่าขนส่งภายในประเทศของผู้ส่งออกและผู้ซื้อ ยกเว้นเรื่องการทำพิธีการศุลกากรขาเข้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ แต่พิธีการศุลกากรขาออกยังเป็นหน้าที่ของผู้ส่งออก

DDP (Delivered Duty Paid) เงื่อนไขนี้จะไกล้เคียงกับ DDU แต่ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในส่วนของการทำพิธีการศุลกากรขาเข้า ให้ผู้ซื้อด้ว

ที่มา : http://www.cargotrend.co.th